เมนู

ผู้นั้นอย่างนี้ว่า ก่อนอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วง
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา-
เวทยิตนิโรธ เนวสัญญานาสัญญาตนสัญญา ดับในนิโรธนี้
และท่านเหล่านั้นดับเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาได้แล้ว อยู่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึง
ชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลี
เข้าไปนั่งใกล้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพวิหารสมาบัติ 9
ประการนี้แล.
จบ ทุติยวิหารสูตรที่ 2

อรรถกถาทุติยวิหารสูตรที่ 2


ทุติยวิหารสูตรที่ 2

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ยตฺถ กามา นิรุชฺฌนฺติ ได้แก่ กามทั้งหลายย่อมสงบ
ไปในที่ใด. บทว่า นิโรเธตฺวา ได้แก่ ไม่กลับมาอีกแล้ว. บทว่า
นิจฺฉาตา ได้แก่หมดอยาก เพราะไม่มีความอยากคือ ตัณหาและ
ทิฏฐิต่อไป. บทว่า นิพฺพุตา ความว่า ดับสนิทแล้ว เพราะไม่มี

กิเลส เครื่องทำให้เร่าร้อนในภายใน. บทว่า ติณฺโณ ได้แก่ ข้ามพ้น
กามทั้งหลาย. บทว่า ปารํคตา ได้แก่ไปเลยฝั่งแห่งกาม. บทว่า
ตทงฺเคน ได้แก่ด้วยองค์ฌานนั้น. บทว่า เอตฺถํ กามา นิรุชฺฌนฺติ
ได้แก่ กามทั้งหลายย่อมดับในปฐมฌานนี้. บทว่า เต จ ได้แก่
ผู้ใดเข้าถึงปฐมฌาน นั้นชื่อว่าดับกามอยู่. บทว่า ปญฺชลโก
ได้แก่ ประคองอัญชลี. บทว่า ปยิรูปาเสยฺย แปลว่า พึงเข้าไปหา.
พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงโดยทำนองนี้.
จบ อรรถกถาทุติยวิหารสุตรที่ 2

3. นิพพานสูตร


ว่าด้วยนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง


[238] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน
กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล ท่านพระ-
สารีบุตรกล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย นิพพาน
นี้เป็นสุข ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย นิพพานนี้เป็นสุข เมื่อท่านพระ-
สารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กล่าวกะท่านพระ-
สารีบุตรว่า ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร นิพพานนี้ไม่มีเวทนา จะเป็น
สุขได้อย่างไร.
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส นิพพานนี้ไม่มี
เวทนานั่นแหละเป็นสุข ดูก่อนอาวุโส กามคุณ 5 ประการนี้ 5
ประการเป็นไฉน คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่จะพึง
รู้แจ้งด้วยหู ฯลฯ กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ฯลฯ รสที่จะพึงรู้แจ้ง
ด้วยลิ้น ฯลฯ โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวนชวนให้กำหนัด กามคุณ 5
ประการนี้แล ดูก่อนอาวุโส สุขโสมนัสย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัย
กามคุณ 5 ประการนี้ นี้เรียกว่ากามสุข.
ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานอยู่ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการ